วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558



  บริหารธุรกิจ (หลักสูตร สาขา) 

 1 บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน 
 2 บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ 
 3 บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการผลิต 
 4 บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด 
 5 บัญชีบัณฑิต 

หลักสูตร คณะบริหารธุรกิจ


หลักสูตรปริญญาตรี
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรไทย
หลักสูตรนานาชาติ
ปกติพิเศษปกติพิเศษ
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน/
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด/
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ/
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการผลิต/
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต //

หลักสูตรปริญญาโท
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรไทย
หลักสูตรนานาชาติ
ปกติพิเศษปกติพิเศษ
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
โครงการบัณฑิตศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ (ภาคปกติ)
โครงการปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจภาคค่ำ 
โครงการบัณฑิตศึกษา สาขาบริหารธุรกิจ สปท.
International MBA (KIMBA) โครงการบัณฑิตศึกษา สาขาบริหารธุรกิจ (นานาชาติ) 
โครงการบัณฑิตศึกษา สาขาบริหารธุรกิจ วิทยาเขตสุพรรณบุรี
โครงการปริญญาโท สำหรับผู้บริหาร (Executive MBA)
โครงการปริญญาโท สำหรับผู้บริหารการเงิน (ภาคพิเศษ) 
//
หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
 โครงการปริญญาโท การบัญชี (ภาคพิเศษ) 
/

หลักสูตรปริญญาเอก
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรไทย
หลักสูตรนานาชาติ
ปกติพิเศษปกติพิเศษ
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ/


  คณะประมง (1 หลักสูตร 5 สาขา) 

 วิทยาศาสตรบัณฑิต (ประมง) สาขาวิชาการจัดการประมง

    ภาควิชาการจัดการประมง 
มีการเรียนการสอนในสาขาวิชาการบริหารและจัดการด้านทรัพยากรประมง การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการประมง ธุรกิจและเศรษฐศาสตร์การประมง การจัดการชุมชนและสังคมประมง การจัดการสารสนเทศด้านการประมง นโยบายประมง และการวิจัยด้านการจัดการประมง
 
ข้อมูลอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา

 บัณฑิตเมื่อสำเร็จการศึกษาจากภาควิชาการจัดการประมงจะเข้าทำงานในส่วนราชการทางด้านที่เกี่ยวข้องกับการจัดการประมงและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและชายฝั่ง นักวิจัย ประกอบอาชีพส่วนตัว ลูกจ้างในบริษัทเอกชน อาจารย์ในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และระดับมหาวิทยาลัย

2 วิทยาศาสตรบัณฑิต (ประมง) สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ประมง 


    ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง 
มีภารกิจการเรียนการสอนและการทำวิจัยด้านผลิตภัณฑ์ประมง ซึ่งภาควิชาฯ มนความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในสาขาคมีและชีวเคมีของสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ จุลชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพของผลิตภัณฑ์ประมงการดูและระหว่างการจับ การขนส่ง และหลังการจับสัตว์น้ำ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมง และการประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ประมง การใช้ประโยชน์จากเศษเหลือของผลิตภัณฑ์ประมง และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหารจากผลิตผลทางการประมง

3 วิทยาศาสตรบัณฑิต (ประมง) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล 

     ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล จัดให้มีการเรียนการสอนและการทำวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล อาทิเช่น
   
      นิเวศวิทยาทางทะเลความหลากหลายทางชีวภาพ 
         สมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม          เทคโนโลยีทางทะเล          เทคโนโลยีชีวภาพ

 4 วิทยาศาสตรบัณฑิต (ประมง) สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ


ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 
มีการเรียนการสอนและการวิจัยเกี่ยวกับวิธีการอนุบาลและเพาะเลี้ยวสัตว์น้ำ การออกแบบบ่อเลี้ยงและโรงเพาะฟัก การจัดการคุณภาพน้ำ เทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์น้ำ การจัดการด้านสุขภาพสัตว์น้ำ พันธุศาสตร์สัตว์น้ำ และการปรับปรุงสายพันธุ์
 
ข้อมูลอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา

 บัณฑิตเมื่อสำเร็จการศึกษาจากภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะเข้าทำงานในส่วนราชการทางด้านที่เกี่ยวข้องกับฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  นักวิจัย รับราชการ และที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

5 วิทยาศาสตรบัณฑิต (ประมง) สาขาวิชาชีววิทยาประมง

    ภาควิชาชีววิทยาประมง เป็น 1 ใน 5 ภาควิชาที่สอนของคณะประมงที่ได้จัดตั้งขึ้นมาพร้อม ๆ กับการก่อตั้งคณะประมงและ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2486 ทั้งนี้เพื่อเป็นการสอดคล้อง กับวิสัยทัศน์ของคณะประมง ที่ว่า"คณะประมงเป็นสถาบันแห่งความเป็นเลิศ ทางวิชาการในสาขาประมง แหล่งน้ำ และทรัพยากรมีชีวิตในแหล่งน้ำ" ภาควิชาจึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจทรัพยากรสิ่งมีชีวิตทางน้ำบทบาทและความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการและการแก้ไขปัญหาด้านการประมง
 
ข้อมูลอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา

 บัณฑิตเมื่อสำเร็จการศึกษาจากภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะเข้าทำงานในส่วนราชการทางด้านชีววิทยาประมง  นักวิจัย รับราชการ และที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม


 
    คณะประมงได้กำหนดหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรี 1 หลักสูตร เป็นระยะเวลาเรียน 4  ปี  ประกอบด้วย 5 สาขาวิชาเอก ดังนี้

โดยได้รับวุฒิการศึกษาเหมือนกัน คือ วิทยาศาสตรบัณฑิต (ประมง) ซึ่งนิสิตต้องผ่านการเรียนอย่างน้อย   138 หน่วยกิต โดยที่ 1 หน่วยกิตเท่ากับ 1 ชั่วโมงบรรยายต่อสัปดาห์  หรือ 2-3 ชั่วโมงปฏิบัติการต่อสัปดาห์  นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าที่ต้องการศึกษาในคณะประมง สามารถสมัครผ่านระบบการรับเข้าศึกษาโดยวิธีต่าง ๆ ตามที่ระบุในรายละเอียดของวิธีการสมัครเข้าเรียนข้างต้น    ซึ่งนิสิตของคณะประมงเมื่อเข้าศึกษา ในช่วง 1-2 ปีแรก วิชาที่เรียนส่วนใหญ่จะเป็นวิชาในหมวดความรู้ทั่วไปของสายวิทยาศาสตร์ หลังจากนั้นจึงจะได้ศึกษาในสาขาวิชาแกน และวิชาเฉพาะในแต่ละภาคการศึกษา นอกจากนิสิตต้องผ่านการเรียนในรายวิชาที่กำหนดแล้ว นิสิตต้องมีชั่วโมงฝึกงานอย่างน้อย 200 ชั่วโมง   และผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรตลอดระยะเวลาการศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 15 กิจกรรม หรือมีจำนวนหน่วยชั่วโมงไม่น้อยกว่า 50 หน่วยชั่วโมง ครบทุกประเภทกิจกรรม

คณะวนศาสตร์ (3 หลักสูตร 6 สาขา) 

1 วิทยาศาสตรบัณฑิต (วนศาสตร์) สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรป่าไม้ 
   วิทยาศาสตรบัณฑิต (วนศาสตร์) สาขาวิชาวิศวกรรมป่าไม้ 
   วิทยาศาสตรบัณฑิต (วนศาสตร์) สาขาวิชาวนศาสตร์ชุมชน 
   วิทยาศาสตรบัณฑิต (วนศาสตร์) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้ 
2 วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ 
3 วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางไม้


แนะนำหลักสูตร

หลักสูตร ระยะเวลาศึกษา 4 ปี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วนศาสตร์) รับจำนวน 140 คน
ตลอดระยะเวลา 4 ปี การเรียนการสอนจะเน้นครอบคลุมการศึกษาทรัพยากรป่าไม้แบบองค์รวม เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ มีการฝึกงานภาคสนามทุกภาคฤดูร้อนเพื่อสร้างทักษะประสบการณ์จริงในการนำความรู้ไปสู่การวางแผนการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน โดยในช่วง 2 ปีแรกจะเน้นการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ สถิติ พฤกษศาสตร์ และปฐพีวิทยา) เป็นพื้นฐาน
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางไม้) รับจำนวน 30 คน
จัดการเรียนการสอนเน้นการศึกษาทางด้านวิชาเคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และวิชาการป่าไม้พื้นฐานและวิชาเฉพาะที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมไม้ครบวงจร รวมทั้งอุตสาหกรรมที่ผลิตวัสดุทดแทนไม้ มีการเรียนในห้องปฏิบัติการเพื่อเพิ่มทักษะความชำนาญด้านการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลทางอุตสาหกรรมไม้
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ) รับจำนวน 30 คน
หลักสูตรเน้นการเรียนการสอนวิชาทางด้านเคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และวิชาที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการผลิตเยื่อและกระดาษ เป็นหลัก
โครงการสองปริญญาคู่ขนาน ระยะเวลาศึกษา 5 ปี
โครงการสองปริญญาคู่ขนาน คือ โครงการที่จัดการเรียนการสอนด้วย 2 หลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วนศาสตร์) สาขาวิชาวนศาสตร์ชุมชนและหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) รับจำนวน 30 คน
โครงการสองปริญญาคู่ขนาน คือ โครงการที่จัดการเรียนการสอนด้วย 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต(วนศาสตร์) สาขาวนศาสตร์ชุมชนและหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต(สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) เพื่อให้นิสิตได้รับความรู้ทางด้านป่าไม้และสามารถนำความรู้ในศาสตร์ด้านป่าไม้และสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามาใช้ในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรป่าไม้ เพื่อสังคมตามหลักวิชาการและยั่งยืน

   

การเข้าศึกษา


การเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของคณะวนศาสตร์
คณะวนศาสตร์ได้เปิดรับสมัครนักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ในแผนการศึกษาสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อเข้าศึกษาต่อในคณะฯ เป็นประจำทุกปี ซึ่งระดับปริญญาตรีมีหลักสูตร 4 หลักสูตร ดังนี้
1. หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วนศาสตร์)
- การสอบตรง ปีการศึกษาละไม่เกิน 120 คน
- แอดมิชชั่น ปีการศึกษาละไม่เกิน 100 คน
2. หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางไม้)
- การสอบตรง ปีการศึกษาละไม่เกิน 20 คน
- แอดมิชชั่น ปีการศึกษาละไม่เกิน 20 คน
3. หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ)
- การสอบตรง ปีการศึกษาละไม่เกิน 20 คน
- แอดมิชชั่น ปีการศึกษาละไม่เกิน 15 คน
4. หลักสูตรสองปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วนศาสตร์)
- ปีการศึกษาละไม่เกิน 35 คน *รับเฉพาะการสอบตรงเท่านั้น
โดยแบ่งช่วงการคัดเลือกเป็น 2 ช่วง คือ
1. การสอบตรง หรือโควตา คณะฯ จะส่งระเบียบ ข้อบังคับและคุณสมบัติของผู้ที่ มีสิทธิสมัครเข้ารับการสอบคัดเลือก ไปยังโรงเรียนต่างๆ และให้ผู้สมัครส่งใบสมัครพร้อมด้วย เอกสารหลักฐานต่างๆ เพื่อตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง ก่อนที่จะประกาศรายชื่อผู้ที่มีสิทธิ เข้าสอบข้อเขียน เพื่อสอบสัมภาษณ์ และจะประกาศรายชื่อ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ ในคณะฯ ซึ่งจะต้องเข้ารายงานตัวเข้าเป็นนิสิตวนศาสตร์ต่อไป การดำเนินการสอบตรง คณะฯ จะทำการส่งใบสมัครประมาณเดือนพฤศจิกายน ทำการสอบคัดเลือก ช่วง มกราคม และ ประกาศผล เข้ารายงานตัวช่วง เดือนกุมภาพันธ์
2. การสอบผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือแอดมิชชั่น นักเรียนจะต้องสอบข้อเขียน ตามระเบียบของ สกอ. (GAT, PAT) และนำคะแนนมายื่นเพื่อคัดเลือกคณะที่จะเข้าศึกษาต่อ ซึ่งนักเรียนจะต้องติดตามข่าวการสอบและ ระเบียบการต่างๆ ด้วยตนเอง
ซึ่งระเบียบข้อบังคับการในคัดเลือกเข้าศึกษาในคณะฯ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อความเหมาะสม 

       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น