วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558



มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์



มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านการเกษตร ก่อตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ โดยมีปณิธาณในการก่อตั้งเพื่อเป็นคุณประโยชน์แก่การกสิกรรมและการเศรษฐกิจของประเทศ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เริ่มต้นจากการเป็นโรงเรียนช่างไหมในปี พ.ศ. 2447 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนการเพาะปลูก หลังจากนั้นรวมเข้ากับโรงเรียนแผนที่เป็นโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการ มีผลให้วิทยาการทางการเกษตรพัฒนาและก้าวหน้า ใน พ.ศ. 2486 รัฐบาลได้ปรับปรุงและรวมกิจการของวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขนกับโรงเรียนวนศาสตร์ (โรงเรียนการป่าไม้เดิม จังหวัดแพร่) มาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แรกเริ่ม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปิดสอนเฉพาะด้านการเกษตรเท่านั้น แต่ต่อมาได้ขยายสาขาวิชาครอบคลุมทั้งสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2541 และอยู่ระหว่างการพิจารณาแปรสภาพจากมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
การประเมินของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยจัดการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาผลปรากฏว่าในการประเมินครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการประเมินในระดับดีมากในสาขาวิชาการจัดการศัตรูพืช (Pest Management) จากภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรอีกทั้งยังเป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติอีกด้วย
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีวิทยาเขตที่เปิดทำการสอนทั้งหมด 4 วิทยาเขตได้แก่
วิทยาเขตบางเขน เขตกำแพงแสน วิทยาเขตศรีราชา และวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนครทั้งยังมีโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรีอีกหนึ่งแห่งด้วยมีหน่วยงานที่เปิดการสอน 29 คณะ 1 วิทยาลัย และสถาบันสมทบอีก 2 แห่ง มีหลักสูตรที่เปิดทำการสอน 373 หลักสูตร โดยเป็นหลักสูตรนานาชาติ 38 หลักสูตร





คุณสมบัติผู้สมัครระดับบัณฑิตศึกษา




1  ประกาศนียบัตรบัณฑิต จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
2  ปริญญาโท จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
3  ปริญญาเอก จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าที่มีผลการเรียนดี       มาก หรือปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีคุณสมบัติอื่นตามรายละเอียดเพิ่มเติมตามความต้องการของแต่ละหลักสูตรที่ระบุไว้ในการรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่เว็บไซต์ของบัณฑิตวิทยาลัย หัวข้อ "รับสมัคร" 

ใบสมัคร

1  ผู้สนใจสามารถสมัครผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือ Download ใบสมัคร และสืบค้นข้อมูล          ประกอบการรับสมัครได้จาก http://www.grad.ku.ac.th หรือ
  2  การซื้อใบสมัครและซีดีการรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา

      - ชั้น 1 บัณฑิตวิทยาลัย อาคารสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันจันทร์-วันศุกร์  เวลา 08.30-16.30 น.  เว้น วันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ราคาชุดละ 50 บาท
      - การซื้อทางไปรษณีย์ ราคาชุดละ 70 บาท โดยสั่งจ่ายในนาม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่งมาที่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตู้ ปณ.1104 ปทฝ.เกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10903  วงเล็บมุมซอง “สั่งซื้อใบสมัครและซีดีการรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา” ทั้งนี้ ให้เขียนชื่อ-ที่อยู่ ใส่กระดาษขนาด 3 x 4 นิ้ว แนบมาในซองสั่งซื้อใบสมัครและซีดีการรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อความถูกต้องในการจัดส่ง การสั่งซื้อทางไปรษณีย์ควรสั่งซื้อ “ก่อนปิดรับสมัครประมาณ 1 สัปดาห์”

การสมัคร

1  สมัครด้วยตนเอง 
         
 - ค่าธรรมเนียมการสมัคร จำนวน 500 บาท เฉพาะเงินสดเท่านั้น ยื่นใบสมัคร พร้อมหลักฐานและเอกสารประกอบการสมัคร ณ บัณฑิตวิทยาลัย อาคารสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เวลา 08.30-16.30 น. (เว้น วันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

2  สมัครทางอินเทอร์เน็ต 
         
         - ค่าธรรมเนียมการสมัคร จำนวน 500 บาท โดยนำแจ้งการชำระเงิน (บส.บว.2)  ไปชำระเงินที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือธนาคารไทยพาณิชย์ ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
          - กรอกใบสมัครและเข้าสู่ระบบ พร้อมทั้ง Print ใบสมัคร จำนวน 1 ชุด
          - ดำเนินการจัดส่งหลักฐานการชำระเงิน หลักฐานและเอกสารประกอบการสมัคร และซองจดหมายติดแสตมป์ 3 บาท โดยเขียนชื่อ-สกุล ที่อยู่ของตัวท่านเอง โดยทันที มายัง    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตู้ ปณ. 1104 ปทฝ.เกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10903  วงเล็บมุมซอง “สมัครสอบคัดเลือกระดับบัณฑิตศึกษา”  มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ในการสมัคร

  3. สมัครทางไปรษณีย์
          
       - ค่าธรรมเนียมการสมัคร จำนวน 500 บาท โดยนำแจ้งการชำระเงิน (บส.บว.2)  ไปชำระเงินที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือธนาคารไทยพาณิชย์ ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
       - จัดส่งใบสมัคร หลักฐานการชำระเงิน หลักฐานและเอกสารประกอบการสมัคร และซองจดหมายติดแสตมป์ 3 บาท โดยเขียนชื่อ-สกุล ที่อยู่ของตัวท่านเอง โดยทันที มายังบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตู้ ปณ. 1104 ปทฝ.เกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10903 วงเล็บมุมซอง “สมัครสอบคัดเลือกระดับบัณฑิตศึกษา” มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ในการสมัคร
         ผู้สมัครมีสิทธิ์สมัครได้มากกว่า 1 สาขาวิชา โดยต้องชำระค่าสมัคร  พร้อมทั้งหลักฐานและเอกสารประกอบการสมัครแยกแต่ละสาขาวิชา แต่มีสิทธิ์เข้าศึกษาได้เพียง 1 สาขาวิชา  ทั้งนี้หากสอบได้มากกว่า 1 สาขาวิชา  ผู้สมัครจะต้องแจ้งสาขาวิชาที่เลือกเข้าศึกษาให้บัณฑิตวิทยาลัยทราบก่อนโอนเงินค่าลงทะเบียนภาคการศึกษาแรก
          หากผู้สมัครส่งหลักฐานและเอกสารในการสมัครไม่ถูกต้องและครบถ้วน  บัณฑิตวิทยาลัยจะไม่พิจารณาใบสมัคร และการตัดสินของบัณฑิตวิทยาลัยถือเป็นการสิ้นสุด  พร้อมทั้งสงวนสิทธิ์ไม่คืนเงินค่าสมัครสอบคัดเลือกและหลักฐานในการสมัครให้ไม่ว่าในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น
           ผู้สมัครจะเปลี่ยนสาขาวิชาที่สมัครหลังจากที่ได้ส่งใบสมัครแล้วมิได้
            อนึ่ง คุณสมบัติของผู้สมัคร การซื้อใบสมัคร และขั้นตอนการสมัคร อาจเปลี่ยนแปลง ไปตามรายละเอียดที่ระบุในคู่มือรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษาในแต่ละปีการศึกษา

 คณะเกษตร (5 หลักสูตร สาขา)

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศัตรูพืช
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีการเกษตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เกษตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรเขตร้อน 
        6 วิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
        7 วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์อุตสาหกรรม




หลักสูตรการเปิดสอน
หลักสูตรปริญญาตรี
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรไทย
หลักสูตรนานาชาติ
ปกติพิเศษปกติพิเศษ
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศัตรูพืชและสัตว์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรเขตร้อน
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์เกษตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีการเกษตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์อุตสาหกรรม

หลักสูตรปริญญาโท
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรไทย
หลักสูตรนานาชาติ
ปกติพิเศษปกติพิเศษ
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลังงานชีวภาพ 
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรเขตร้อน 
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปฐพีวิทยา
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโรคพืช
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรยั่งยืน 
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบเกษตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเพื่อการพัฒนา
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากีฏวิทยา
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน

หลักสูตรปริญญาเอก

ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรไทย
หลักสูตรนานาชาติ
ปกติพิเศษปกติพิเศษ
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรเขตร้อน
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปฐพีวิทยา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิขาโรคพืช
เทคนิคการสัตวเเพทย์(1 หลักสูตร 1 สาขา)

- วิทยศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการสัตวเเพทย์

ประวัติความเป็นมาของภาควิชาเทคนิคการสัตวแพทย์

 


 ภาควิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ จัดตั้งขึ้นตามประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง การจัดตั้งคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ ลงวันที่วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2549 และประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2549
     และนอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มอบหมายให้คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ รับผิดชอบดูแลโครงการหาบ้านใหม่ให้สุนัขจรจัดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกด้วย

หลักสูตรในระดับปริญญาตรี

มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความชำนาญ ทางด้านการชันสูตร และตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ (Lab Practitioner) ที่เกิดกับสัตว์ ทั้งในสัตว์เลี้ยงและสัตว์เศรษฐกิจ รวมถึงการตรวจวิเคราะห์สารตกค้างหรือสารพิษในอาหารสัตว์และอาหารคน การวิเคราะห์คุณภาพอาหารของสัตว์และคน นอกจากนี้บัณฑิตยังจะต้องสามารถทำหน้าที่พยาบาลและดูแลสัตว์ในเบื้องต้นได้ (Veterinary nurse) การจัดการเรียนการสอน นิสิตจะต้องเรียนวิชาพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ในชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 ภาคต้น และเรียนวิชาเฉพาะสาขาในชั้นปีที่ 2 ภาคปลาย ปี 3 และปี 4 ซึ่งจะประกอบด้วยวิชาต่างๆ ในกลุ่มวิชาปรสิตวิทยาและพยาธิคลินิกทางสัตวแพทย์ สาขาวิชาสัตวแพทยสาธารณสุขและจุลชีวคลินิกทางสัตวแพทย์ สาขาวิชาสุขศาสตร์และงานโรงพยาบาล และสาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ รวมถึงมีการฝึกงานไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

1. มีสัญชาติไทยหรือเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
2. เป็นผู้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2557 กลุ่มการเรียนวิทยาศาสตร์ (ไม่รับพิจารณาผู้สอบเทียบ กศน.)
4. เป็นผู้ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นมัธยมศึกษาปีกที่ 6 (ภาคต้น) รวม 5 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 2.50
5. ผู้สมัครสามารถเลือกสมัครได้เพียง 1 สาขาเท่านั้น
6. เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง หรือเป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
7. ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างตกเป็นจำเลยในคดีอาญาหรือไม่เคยต้องคำพิพากษาของศาล ด้วยการกระทำผิดในคดีอาญา ยกเว้นความผิดโดยประมาท
8. เป็นผู้ที่ไม่เป็นโรคตาบอดสี อันจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพ โดยผู้สมัครจะต้องนำผลการตรวจตาบอดสีที่ได้รับการตรวจจากโรงพยาบาลของรัฐมาแสดงต่อคณะกรรมการในวันสอบสัมภาษณ์ (เฉพาะสาขาเทคนิคการสัตวแพทย์)

จำนวนที่รับเข้าศึกษา

1. สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์  จำนวนไม่เกิน 30 คน
2. สาขาการพยาบาลสัตว์ จำนวนไม่เกิน 30 คน





คณะสัตวเเพทยศาสตร์(2 หลักสูตร 2สาขา)

- สัตวเเพทยศาสตรบัณฑิต

-วิทยศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การสัตวเเพทย์






คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์(2หลักสูตร 2 สาขา).

- สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต - ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์


หลักสูตรปริญญาตรี
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรไทย
หลักสูตรนานาชาติ
ปกติพิเศษปกติพิเศษ
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต/
หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต/

หลักสูตรปริญญาโท
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรไทย
หลักสูตรนานาชาติ
ปกติพิเศษปกติพิเศษ
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมอาคาร/
หลักสูตรการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต/

หลักสูตรปริญญาเอก
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรไทย
หลักสูตรนานาชาติ
ปกติพิเศษปกติพิเศษ
หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง/


คณะเศรษฐศาสตร์(4หลักสูตร4สาขา)

-วิทยาศาสตรบัณฑิต
-เศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร
-วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์
-วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร

การรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี



การรับเข้าเป็นนิสิต


กำหนดการและวิธีการรับเข้าศึกษาให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยในแต่ละ ปีการศึกษา

คุณสมบัติของผู้สมัคร

1. สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
2. ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล  เว้นแต่ในกรณีที่โทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
3. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
4. ไม่เป็นคนวิกลจริต  และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคอื่นซึ่งสังคม  รังเกียจ
5. ไม่เคยถูกคัดชื่อออกจากสถานศึกษาเพราะมีความผิดทางวินัย

หลักสูตร ปริญญาตรี

บริหารธุรกิจ (หลักสูตร สาขา) 

 1 บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน 
 2 บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ 
 3 บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการผลิต 
 4 บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด 
 5 บัญชีบัณฑิต 

หลักสูตร คณะบริหารธุรกิจ


หลักสูตรปริญญาตรี
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรไทย
หลักสูตรนานาชาติ
ปกติพิเศษปกติพิเศษ
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน/
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด/
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ/
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการผลิต/
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต //

หลักสูตรปริญญาโท
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรไทย
หลักสูตรนานาชาติ
ปกติพิเศษปกติพิเศษ
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
โครงการบัณฑิตศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ (ภาคปกติ)
โครงการปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจภาคค่ำ 
โครงการบัณฑิตศึกษา สาขาบริหารธุรกิจ สปท.
International MBA (KIMBA) โครงการบัณฑิตศึกษา สาขาบริหารธุรกิจ (นานาชาติ) 
โครงการบัณฑิตศึกษา สาขาบริหารธุรกิจ วิทยาเขตสุพรรณบุรี
โครงการปริญญาโท สำหรับผู้บริหาร (Executive MBA)
โครงการปริญญาโท สำหรับผู้บริหารการเงิน (ภาคพิเศษ) 
//
หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
 โครงการปริญญาโท การบัญชี (ภาคพิเศษ) 
/

หลักสูตรปริญญาเอก
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรไทย
หลักสูตรนานาชาติ
ปกติพิเศษปกติพิเศษ
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ/


  คณะประมง (หลักสูตร สาขา) 

 วิทยาศาสตรบัณฑิต (ประมง) สาขาวิชาการจัดการประมง

    ภาควิชาการจัดการประมง 
มีการเรียนการสอนในสาขาวิชาการบริหารและจัดการด้านทรัพยากรประมง การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการประมง ธุรกิจและเศรษฐศาสตร์การประมง การจัดการชุมชนและสังคมประมง การจัดการสารสนเทศด้านการประมง นโยบายประมง และการวิจัยด้านการจัดการประมง
 
ข้อมูลอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา

 บัณฑิตเมื่อสำเร็จการศึกษาจากภาควิชาการจัดการประมงจะเข้าทำงานในส่วนราชการทางด้านที่เกี่ยวข้องกับการจัดการประมงและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและชายฝั่ง นักวิจัย ประกอบอาชีพส่วนตัว ลูกจ้างในบริษัทเอกชน อาจารย์ในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และระดับมหาวิทยาลัย

2 วิทยาศาสตรบัณฑิต (ประมง) สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ประมง 


    ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง 
มีภารกิจการเรียนการสอนและการทำวิจัยด้านผลิตภัณฑ์ประมง ซึ่งภาควิชาฯ มนความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในสาขาคมีและชีวเคมีของสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ จุลชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพของผลิตภัณฑ์ประมงการดูและระหว่างการจับ การขนส่ง และหลังการจับสัตว์น้ำ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมง และการประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ประมง การใช้ประโยชน์จากเศษเหลือของผลิตภัณฑ์ประมง และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหารจากผลิตผลทางการประมง

3 วิทยาศาสตรบัณฑิต (ประมง) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล 

     ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล จัดให้มีการเรียนการสอนและการทำวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล อาทิเช่น
   
      นิเวศวิทยาทางทะเลความหลากหลายทางชีวภาพ 
         สมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม          เทคโนโลยีทางทะเล          เทคโนโลยีชีวภาพ

 4 วิทยาศาสตรบัณฑิต (ประมง) สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ


ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 
มีการเรียนการสอนและการวิจัยเกี่ยวกับวิธีการอนุบาลและเพาะเลี้ยวสัตว์น้ำ การออกแบบบ่อเลี้ยงและโรงเพาะฟัก การจัดการคุณภาพน้ำ เทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์น้ำ การจัดการด้านสุขภาพสัตว์น้ำ พันธุศาสตร์สัตว์น้ำ และการปรับปรุงสายพันธุ์
 
ข้อมูลอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา

 บัณฑิตเมื่อสำเร็จการศึกษาจากภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะเข้าทำงานในส่วนราชการทางด้านที่เกี่ยวข้องกับฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  นักวิจัย รับราชการ และที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

5 วิทยาศาสตรบัณฑิต (ประมง) สาขาวิชาชีววิทยาประมง

    ภาควิชาชีววิทยาประมง เป็น 1 ใน 5 ภาควิชาที่สอนของคณะประมงที่ได้จัดตั้งขึ้นมาพร้อม ๆ กับการก่อตั้งคณะประมงและ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2486 ทั้งนี้เพื่อเป็นการสอดคล้อง กับวิสัยทัศน์ของคณะประมง ที่ว่า"คณะประมงเป็นสถาบันแห่งความเป็นเลิศ ทางวิชาการในสาขาประมง แหล่งน้ำ และทรัพยากรมีชีวิตในแหล่งน้ำ" ภาควิชาจึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจทรัพยากรสิ่งมีชีวิตทางน้ำบทบาทและความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการและการแก้ไขปัญหาด้านการประมง
 
ข้อมูลอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา

 บัณฑิตเมื่อสำเร็จการศึกษาจากภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะเข้าทำงานในส่วนราชการทางด้านชีววิทยาประมง  นักวิจัย รับราชการ และที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม


 
    คณะประมงได้กำหนดหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรี 1 หลักสูตร เป็นระยะเวลาเรียน 4  ปี  ประกอบด้วย 5 สาขาวิชาเอก ดังนี้

โดยได้รับวุฒิการศึกษาเหมือนกัน คือ วิทยาศาสตรบัณฑิต (ประมง) ซึ่งนิสิตต้องผ่านการเรียนอย่างน้อย   138 หน่วยกิต โดยที่ 1 หน่วยกิตเท่ากับ 1 ชั่วโมงบรรยายต่อสัปดาห์  หรือ 2-3 ชั่วโมงปฏิบัติการต่อสัปดาห์  นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าที่ต้องการศึกษาในคณะประมง สามารถสมัครผ่านระบบการรับเข้าศึกษาโดยวิธีต่าง ๆ ตามที่ระบุในรายละเอียดของวิธีการสมัครเข้าเรียนข้างต้น    ซึ่งนิสิตของคณะประมงเมื่อเข้าศึกษา ในช่วง 1-2 ปีแรก วิชาที่เรียนส่วนใหญ่จะเป็นวิชาในหมวดความรู้ทั่วไปของสายวิทยาศาสตร์ หลังจากนั้นจึงจะได้ศึกษาในสาขาวิชาแกน และวิชาเฉพาะในแต่ละภาคการศึกษา นอกจากนิสิตต้องผ่านการเรียนในรายวิชาที่กำหนดแล้ว นิสิตต้องมีชั่วโมงฝึกงานอย่างน้อย 200 ชั่วโมง   และผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรตลอดระยะเวลาการศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 15 กิจกรรม หรือมีจำนวนหน่วยชั่วโมงไม่น้อยกว่า 50 หน่วยชั่วโมง ครบทุกประเภทกิจกรรม

คณะวนศาสตร์ (หลักสูตร สาขา) 

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วนศาสตร์) สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรป่าไม้ 
   วิทยาศาสตรบัณฑิต (วนศาสตร์) สาขาวิชาวิศวกรรมป่าไม้ 
   วิทยาศาสตรบัณฑิต (วนศาสตร์) สาขาวิชาวนศาสตร์ชุมชน 
   วิทยาศาสตรบัณฑิต (วนศาสตร์) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้ 
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ 
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางไม้


แนะนำหลักสูตร

หลักสูตร ระยะเวลาศึกษา 4 ปี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วนศาสตร์) รับจำนวน 140 คน
ตลอดระยะเวลา 4 ปี การเรียนการสอนจะเน้นครอบคลุมการศึกษาทรัพยากรป่าไม้แบบองค์รวม เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ มีการฝึกงานภาคสนามทุกภาคฤดูร้อนเพื่อสร้างทักษะประสบการณ์จริงในการนำความรู้ไปสู่การวางแผนการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน โดยในช่วง 2 ปีแรกจะเน้นการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ สถิติ พฤกษศาสตร์ และปฐพีวิทยา) เป็นพื้นฐาน
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางไม้) รับจำนวน 30 คน
จัดการเรียนการสอนเน้นการศึกษาทางด้านวิชาเคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และวิชาการป่าไม้พื้นฐานและวิชาเฉพาะที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมไม้ครบวงจร รวมทั้งอุตสาหกรรมที่ผลิตวัสดุทดแทนไม้ มีการเรียนในห้องปฏิบัติการเพื่อเพิ่มทักษะความชำนาญด้านการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลทางอุตสาหกรรมไม้
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ) รับจำนวน 30 คน
หลักสูตรเน้นการเรียนการสอนวิชาทางด้านเคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และวิชาที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการผลิตเยื่อและกระดาษ เป็นหลัก
โครงการสองปริญญาคู่ขนาน ระยะเวลาศึกษา 5 ปี
โครงการสองปริญญาคู่ขนาน คือ โครงการที่จัดการเรียนการสอนด้วย 2 หลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วนศาสตร์) สาขาวิชาวนศาสตร์ชุมชนและหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) รับจำนวน 30 คน
โครงการสองปริญญาคู่ขนาน คือ โครงการที่จัดการเรียนการสอนด้วย 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต(วนศาสตร์) สาขาวนศาสตร์ชุมชนและหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต(สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) เพื่อให้นิสิตได้รับความรู้ทางด้านป่าไม้และสามารถนำความรู้ในศาสตร์ด้านป่าไม้และสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามาใช้ในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรป่าไม้ เพื่อสังคมตามหลักวิชาการและยั่งยืน

   

การเข้าศึกษา


การเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของคณะวนศาสตร์
คณะวนศาสตร์ได้เปิดรับสมัครนักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ในแผนการศึกษาสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อเข้าศึกษาต่อในคณะฯ เป็นประจำทุกปี ซึ่งระดับปริญญาตรีมีหลักสูตร 4 หลักสูตร ดังนี้
1. หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วนศาสตร์)
- การสอบตรง ปีการศึกษาละไม่เกิน 120 คน
- แอดมิชชั่น ปีการศึกษาละไม่เกิน 100 คน
2. หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางไม้)
- การสอบตรง ปีการศึกษาละไม่เกิน 20 คน
- แอดมิชชั่น ปีการศึกษาละไม่เกิน 20 คน
3. หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ)
- การสอบตรง ปีการศึกษาละไม่เกิน 20 คน
- แอดมิชชั่น ปีการศึกษาละไม่เกิน 15 คน
4. หลักสูตรสองปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วนศาสตร์)
- ปีการศึกษาละไม่เกิน 35 คน *รับเฉพาะการสอบตรงเท่านั้น
โดยแบ่งช่วงการคัดเลือกเป็น 2 ช่วง คือ
1. การสอบตรง หรือโควตา คณะฯ จะส่งระเบียบ ข้อบังคับและคุณสมบัติของผู้ที่ มีสิทธิสมัครเข้ารับการสอบคัดเลือก ไปยังโรงเรียนต่างๆ และให้ผู้สมัครส่งใบสมัครพร้อมด้วย เอกสารหลักฐานต่างๆ เพื่อตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง ก่อนที่จะประกาศรายชื่อผู้ที่มีสิทธิ เข้าสอบข้อเขียน เพื่อสอบสัมภาษณ์ และจะประกาศรายชื่อ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ ในคณะฯ ซึ่งจะต้องเข้ารายงานตัวเข้าเป็นนิสิตวนศาสตร์ต่อไป การดำเนินการสอบตรง คณะฯ จะทำการส่งใบสมัครประมาณเดือนพฤศจิกายน ทำการสอบคัดเลือก ช่วง มกราคม และ ประกาศผล เข้ารายงานตัวช่วง เดือนกุมภาพันธ์
2. การสอบผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือแอดมิชชั่น นักเรียนจะต้องสอบข้อเขียน ตามระเบียบของ สกอ. (GAT, PAT) และนำคะแนนมายื่นเพื่อคัดเลือกคณะที่จะเข้าศึกษาต่อ ซึ่งนักเรียนจะต้องติดตามข่าวการสอบและ ระเบียบการต่างๆ ด้วยตนเอง
ซึ่งระเบียบข้อบังคับการในคัดเลือกเข้าศึกษาในคณะฯ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อความเหมาะสม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น