ประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รูปที่1
ผู้ก่อตั้งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อักษรย่อ : มก. / KU
ชื่อภาษาอังกฤษ : Kasetsart
University
วันสถาปนา : 2
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
ประเภท : รัฐ
นายกสภาฯ : ศ.ดร.กำพล อดุลวิทย์
อธิการบดี : รศ.
วุฒิชัย กปิลกาญจน์
เพลงสถาบัน : เพลงพระราชนิพนธ์ เกษตรศาสตร์
สีประจำสถาบัน : สีเขียวใบไม้
ต้นไม้ : นนทรี
เว็บไซต์ : www.ku.ac.th
ปรัชญา
วิสัยทัศน์ พันธกิจ
ปรัชญา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถาบันที่มีปณิธานมุ่งมั่น
ในการสั่งสมเสาะแสวงหา และพัฒนาความรู้ให้เกิดความเจริญงอกงามทางภูมิปัญญา
ที่เพียบพร้อมด้วยวิชาการ จริยธรรม และคุณธรรม
ตลอดจนเป็นผู้ชี้นำทิศทางสืบทอดเจตนารมณ์ที่ดีของสังคม เพื่อความคงอยู่ ความเจริญ
และความเป็นอารยะของชาติ
วิสัยทัศน์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการระดับนานาชาติ
มีผลงานเป็นที่ยอมรับในมาตรฐานสากล เป็นแกนนำในการระดมภูมิปัญญา
เพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และให้มีอำนาจต่อรองในประชาคมโลก
พันธกิจ
สะสมภูมิปัญญา สร้างและพัฒนาองค์ความรู้ที่หลากหลาย สร้างคนที่มีปัญญา
รู้เหตุรู้ผล อยู่ในคุณธรรม และมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม
ตลอดจนสร้างผลงานที่มีมาตรฐานสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
โดยมีการบริหารทรัพยากรของมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมพัฒนากับชุมชน
และรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการนำประเทศไปสู่ความผาสุกและมั่นคง
เอกลักษณ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มุ่งสร้างศาสตร์แห่งแผ่นดิน เพื่อความกินดีอยู่ดีของชาติ
อัตลักษณ์
สำนึกดี มุ่งมั่น สร้างสรรค์ สามัคคี
วิทยาเขตบางเขน
วิทยาเขตบางเขน มีพื้นที่ 846 ไร่ ประกอบด้วย 15 คณะ 2
สถาบันสมทบ ได้แก่ คณะเกษตร คณะประมง คณะบริหารธุรกิจ
คณะมนุษยศาสตร์ คณะวนศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์
คณะเศรษฐศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะสัตวแพทย์
คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยสิ่งแวดล้อม
และสถาบันสมทบอีก 2 วิทยาลัย คือ วิทยาลัยการชลประทาน
และวิทยาลัยพยาบาลราชชนนี นพรัตน์วชิระ

รูปที่ 2
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ตราประจำมหาวิทยาลัย
ตราประจำมหาวิทยาลัยเป็นรูปวงกลม
มีรูปพระพิรุณทรงนาคอยู่กึ่งกลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวคว่ำและกลีบบัวหงายและมีข้อความว่า
"มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ.๒๔๘๖" ล้อมรอบเป็นชั้นนอกสุด ตาม พ.ร.บ.
เครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7
พฤศจิกายน
2540 เล่มที่ 114 ตอนพิเศษ 104 ง

รูปที่ 3
ตราประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย

รศ.ดร.บัญชา
ขวัญยืน
|
รักษาการแทนอธิการบดี
|
![]() ![]() |
ผศ.ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา ดร.ดำรงค์
ศรีพระราม
รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร รักษาการแทนรองอธิการบดีบริการวิชาการ


ดร.ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์ รศ.น.สพ.ดร.วรวุฒิ ฤกษ์อำนวยโชค
อธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ แทนรองรักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล


รศ.ดร.ลิลลี่ กาวีต๊ะ
ผศ.ดร.ราตรี เรืองไทย
รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต


รศ.ดร.ตฤณ แสงสุวรรณ
รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี
รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกายภาพ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย


ผศ.ดร.ภุชงค์ อุทโยภาศ ดร.พีระพงศ์ ตริยเจริญรักษาการแทนรอง
อธิการบดีฝ่ายสารสนเทศ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ


รศ.ดร.พูนพิภพ เกษมทรัพย์
รศ.ดร.บรรจบ ภิรมย์คำ
รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีวิทยาเขตกำแพงแสน


รศ.น.สพ.ดร.กมลชัย ตรงวานิชนาม รศ.ดร.วิไลศักดิ์ กิ่งคำ
รักษาการแทนรองอธิการบดีวิทยาเขตศรีราชา
รักษาการแทนรองอธิการบดีวิทยาเขต
เฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร
ใบสมัคร
1 ผู้สนใจสามารถสมัครผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
หรือ Download ใบสมัคร
และสืบค้นข้อมูล ประกอบการรับสมัครได้จาก http://www.grad.ku.ac.th หรือ
2
การซื้อใบสมัครและซีดีการรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
- ชั้น 1 บัณฑิตวิทยาลัย อาคารสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. เว้น วันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ราคาชุดละ 50 บาท
- ชั้น 1 บัณฑิตวิทยาลัย อาคารสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. เว้น วันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ราคาชุดละ 50 บาท
- การซื้อทางไปรษณีย์
ราคาชุดละ 70 บาท โดยสั่งจ่ายในนาม บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่งมาที่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตู้ ปณ.1104
ปทฝ.เกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10903 วงเล็บมุมซอง “สั่งซื้อใบสมัครและซีดีการรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา”
ทั้งนี้ ให้เขียนชื่อ-ที่อยู่ ใส่กระดาษขนาด 3 x 4 นิ้ว แนบมาในซองสั่งซื้อใบสมัครและซีดีการรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
เพื่อความถูกต้องในการจัดส่ง การสั่งซื้อทางไปรษณีย์ควรสั่งซื้อ “ก่อนปิดรับสมัครประมาณ 1 สัปดาห์”
การสมัคร
1 สมัครด้วยตนเอง
- ค่าธรรมเนียมการสมัคร จำนวน 500
บาท เฉพาะเงินสดเท่านั้น ยื่นใบสมัคร
พร้อมหลักฐานและเอกสารประกอบการสมัคร ณ บัณฑิตวิทยาลัย อาคารสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เวลา 08.30-16.30 น. (เว้น วันหยุดราชการ
และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
2 สมัครทางอินเทอร์เน็ต
-
ค่าธรรมเนียมการสมัคร จำนวน 500 บาท
โดยนำแจ้งการชำระเงิน (บส.บว.2) ไปชำระเงินที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
หรือธนาคารไทยพาณิชย์ ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-
กรอกใบสมัครและเข้าสู่ระบบ พร้อมทั้ง Print ใบสมัคร
จำนวน 1 ชุด
- ดำเนินการจัดส่งหลักฐานการชำระเงิน
หลักฐานและเอกสารประกอบการสมัคร และซองจดหมายติดแสตมป์ 3 บาท
โดยเขียนชื่อ-สกุล ที่อยู่ของตัวท่านเอง
3. สมัครทางไปรษณีย์
- ค่าธรรมเนียมการสมัคร จำนวน 500
บาท โดยนำแจ้งการชำระเงิน (บส.บว.2) ไปชำระเงินที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
หรือธนาคารไทยพาณิชย์ ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-
จัดส่งใบสมัคร หลักฐานการชำระเงิน หลักฐานและเอกสารประกอบการสมัคร
และซองจดหมายติดแสตมป์ 3 บาท โดยเขียนชื่อ-สกุล
ที่อยู่ของตัวท่านเอง โดยทันที มายังบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตู้
ปณ. 1104 ปทฝ.เกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10903 วงเล็บมุมซอง “สมัครสอบคัดเลือกระดับบัณฑิตศึกษา”
มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ในการสมัคร
ผู้สมัครมีสิทธิ์สมัครได้มากกว่า
1 สาขาวิชา โดยต้องชำระค่าสมัคร พร้อมทั้งหลักฐานและเอกสารประกอบการสมัครแยกแต่ละสาขาวิชา
แต่มีสิทธิ์เข้าศึกษาได้เพียง 1 สาขาวิชา ทั้งนี้หากสอบได้มากกว่า 1 สาขาวิชา ผู้สมัครจะต้องแจ้งสาขาวิชาที่เลือกเข้าศึกษาให้บัณฑิตวิทยาลัยทราบก่อนโอนเงินค่าลงทะเบียนภาคการศึกษาแรก
หากผู้สมัครส่งหลักฐานและเอกสารในการสมัครไม่ถูกต้องและครบถ้วน
บัณฑิตวิทยาลัยจะไม่พิจารณาใบสมัคร
และการตัดสินของบัณฑิตวิทยาลัยถือเป็นการสิ้นสุด พร้อมทั้งสงวนสิทธิ์ไม่คืนเงินค่าสมัครสอบคัดเลือกและหลักฐานในการสมัครให้ไม่ว่าในกรณีใดๆ
ทั้งสิ้น
ผู้สมัครจะเปลี่ยนสาขาวิชาที่สมัครหลังจากที่ได้ส่งใบสมัครแล้วมิได้
อนึ่ง คุณสมบัติของผู้สมัคร
การซื้อใบสมัคร และขั้นตอนการสมัคร อาจเปลี่ยนแปลง ไปตามรายละเอียดที่ระบุในคู่มือรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษาในแต่ละปีการศึกษา
รายละเอียดที่สำคัญ
- ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติทั่วไป
และคุณสมบัติเฉพาะตามที่คณะ/สาขาประกาศไว้
- การพิจารณาผู้สมัครจะใช้คะแนนสอบวิชาสามัญ
โดยอาจจะมีเกณฑ์ขั้นต่ำของคะแนนที่ได้ รวมถึงเกณฑ์ขั้นต่ำของคะแนนจากการสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 1/2558
(อ่านรายละเอียดของสาขาที่เปิดรับสมัคร) ดังนั้นนักเรียนจะต้องตรวจสอบเกณฑ์และสมัครสอบในรายวิชาต่าง
ๆ ตามที่ระบุในประกาศ จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการพิจารณาคัดเลือก
- การเลือกอันดับสาขาทำได้สองรูปแบบ: รูปแบบที่ 1 เลือกอันดับสาขาโดยเลือกไม่เกิน 4 อันดับการเลือก
และ รูปแบบที่ 2 เลือกอันดับเพียงอันดับเดียว
และขอรับการพิจารณาเป็นอันดับสำรองในกรณีที่ไม่ผ่านการคัดเลือกรอบที่ 1
(อ่านรายละเอียดได้ด้านล่าง)
- เริ่มรับสมัครวันที่ 10 พ.ย. 2557
จนถึงวันที่ 2 ก.พ. 2558 (อ่านกำหนดการการสมัคร KU Admission)
- ผู้สมัครจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการสมัครผ่านทางธนาคาร
โดยค่าธรรมเนียบสำหรับผู้สมัครที่เลือก 1
คณะ/สาขาวิชา คือ 300 บาท
สำหรับการเลือกอันดับต่อไป อันดับละ 100 บาท
- ผู้ผ่านการคัดเลือกต้องชำระเงินประกันสิทธิ์และเข้าไปยืนยันสิทธิ์การเข้าศึกษาต่อผ่านทางระบบเคลียริงเฮาส์ของสอท.
คุณสมบัติทั่วไป
1.
เป็นผู้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
2.
เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่
6 หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หรือประกาศนียบัตรอื่น
ที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า สำหรับผู้สมัครที่จบหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน
สายสามัญ ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการดำเนินงานการศึกษานอกโรงเรียน
สายสามัญศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2544
3.
เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะ
ตามที่ คณะ/สาขาวิชา กำหนด
4.
เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง
โรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
5.
เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
และรับรองต่อมหาวิทยาลัยได้ว่าจะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเต็มความสามารถ
และจะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้ว หรือที่จะ
มีต่อไปโดยเคร่งครัดทุกประการ
คุณสมบัติเฉพาะ และเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกตามที่คณะ/สาขาวิชากำหนด
1.
คุณสมบัติเฉพาะ
ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) 5 ภาคการศึกษา
และแผนการเรียน
2.
เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก
ตามที่คณะ/สาขาวิชากำหนด ได้แก่
1.
ผลคะแนนทดสอบวิชาสามัญ
7 วิชา ปีการศึกษา 2558
จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ในการประมวลผลการคัดเลือกเข้าศึกษา
2.
ผลการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป
(GAT) และการทดสอบวิชาความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT)
จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการ ศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
เป็นเกณฑ์ประกอบการพิจารณาคัดเลือก โดยแบ่งเป็น
2.1
ผู้สมัครที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.6) หรือเทียบเท่า จะใช้ผลคะแนนทดสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 1/2558
2.2
ผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.6)
แล้วหรือเทียบเท่า
จะใช้ผลคะแนนทดสอบ GAT/PAT ที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี
นับจากวันสอบ โดยจะนำผลคะแนนทดสอบครั้งที่ดีที่สุดมาพิจารณา
2.3 การสอบวิชาความถนัดเฉพาะด้าน
ตามเกณฑ์ที่คณะ/สาขาวิชา กำหนด
2.4 การสอบสัมภาษณ์
ตามเกณฑ์ที่คณะ/สาขาวิชา กำหนด
การเลือกอันดับและค่าธรรมเนียมการสมัคร
ในการเลือกอันดับสาขานั้นผู้สมัครสามารถเลือกได้สองรูปแบบ
คือ
รูปแบบที่ 1: เลือกอันดับสาขาโดยเลือกไม่เกิน 4 อันดับการเลือก ผู้สมัครเลือกอันดับสาขาในลักษณะนี้
จะได้รับการพิจารณาสาขาไล่ไปตามอันดับการเลือกจนครบทุกอันดับ
แต่จะไม่มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาเป็นอันดับสำรอง
รูปแบบที่ 2: เลือกอันดับเพียงอันดับเดียว
และขอรับการพิจารณาเป็นอันดับสำรอง ในกรณีนี้ถ้าผู้สมัครไม่ผ่านการคัดเลือกในรอบแรก
จะสามารถได้รับการพิจารณาเป็นอันดับสำรองเรียงตามลำดับคะแนนในสาขาที่สมัครได้
โดยการพิจารณาจำนวนในการเรียกตัวสำรองนั้น
คณะและสาขาที่ประกาศรับจะพิจารณาตามความเหมาะสม
ไม่ว่าจะเลือกอันดับในรูปแบบใด
ผู้สมัครจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติทั่วไป
และคุณสมบัติเฉพาะและเกณฑ์การคัดเลือกตามที่คณะ/สาขาวิชากำหนดให้เรียบร้อยก่อนการสมัคร
(อ่านรายละเอียดสาขาที่รับสมัครและเกณฑ์)
หากผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องจะไม่มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาคัดเลือก
ผู้สมัครจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการสมัครผ่านทางธนาคาร
โดยค่าธรรมเนียบสำหรับผู้สมัครที่เลือก 1 คณะ/สาขาวิชา คือ 300 บาท
สำหรับการเลือกอันดับต่อไป อันดับละ 100 บาท
ผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือก
(ทั้งรอบที่ 1 และรอบสำรอง) จะต้องชำระเงินประกันสิทธิ์เข้าศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนดจึงจะมีรายชื่อในระบบเคลียริงเฮาส์
ผู้สมัครจะต้องเข้าไปยืนยันสิทธิ์การศึกษาต่อที่ระบบเคลียริงเฮาส์จึงจะมีสิทธิ์เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตบางเขน
วิทยาเขตบางเขน มุ่งเน้นบัณฑิตศึกษา
วิจัยขั้นสูง พัฒนาวิชาการ บริการวิชาพื้นฐาน บริหารโครงการพิเศษ
ประสานความร่วมมือกับนานาชาติ ปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนในหลากหลายสาขาวิชา
มีหน่วยงานประกอบด้วย 15 คณะ 1 วิทยาลัย
|
คณะที่สนใจ
คณะวนศาสตร์ (3 หลักสูตร 6 สาขา)

รูปที่4 คณะวนศาสตร์
การเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของคณะวนศาสตร์
คณะวนศาสตร์ได้เปิดรับสมัครนักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ในแผนการศึกษาสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อเข้าศึกษาต่อในคณะฯ เป็นประจำทุกปี ซึ่งระดับปริญญาตรีมีหลักสูตร 4 หลักสูตร ดังนี้
คณะวนศาสตร์ได้เปิดรับสมัครนักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ในแผนการศึกษาสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อเข้าศึกษาต่อในคณะฯ เป็นประจำทุกปี ซึ่งระดับปริญญาตรีมีหลักสูตร 4 หลักสูตร ดังนี้
1. หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต
(วนศาสตร์)
- การสอบตรง ปีการศึกษาละไม่เกิน 120 คน
- แอดมิชชั่น ปีการศึกษาละไม่เกิน 100 คน
- การสอบตรง ปีการศึกษาละไม่เกิน 120 คน
- แอดมิชชั่น ปีการศึกษาละไม่เกิน 100 คน
2. หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต
(วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางไม้)
- การสอบตรง ปีการศึกษาละไม่เกิน 20 คน
- แอดมิชชั่น ปีการศึกษาละไม่เกิน 20 คน
- การสอบตรง ปีการศึกษาละไม่เกิน 20 คน
- แอดมิชชั่น ปีการศึกษาละไม่เกิน 20 คน
3. หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต
(เทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ)- การสอบตรง
ปีการศึกษาละไม่เกิน 20 คน
- แอดมิชชั่น ปีการศึกษาละไม่เกิน 15 คน
- แอดมิชชั่น ปีการศึกษาละไม่เกิน 15 คน
4. หลักสูตรสองปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต
(วนศาสตร์)
- ปีการศึกษาละไม่เกิน 35 คน *รับเฉพาะการสอบตรงเท่านั้น
- ปีการศึกษาละไม่เกิน 35 คน *รับเฉพาะการสอบตรงเท่านั้น
โดยแบ่งช่วงการคัดเลือกเป็น 2 ช่วง คือ
1. การสอบตรง หรือโควตา คณะฯ จะส่งระเบียบ
ข้อบังคับและคุณสมบัติของผู้ที่ มีสิทธิสมัครเข้ารับการสอบคัดเลือก
ไปยังโรงเรียนต่างๆ และให้ผู้สมัครส่งใบสมัครพร้อมด้วย เอกสารหลักฐานต่างๆ
เพื่อตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง ก่อนที่จะประกาศรายชื่อผู้ที่มีสิทธิ
เข้าสอบข้อเขียน เพื่อสอบสัมภาษณ์ และจะประกาศรายชื่อ
ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ ในคณะฯ
ซึ่งจะต้องเข้ารายงานตัวเข้าเป็นนิสิตวนศาสตร์ต่อไป การดำเนินการสอบตรง คณะฯ
จะทำการส่งใบสมัครประมาณเดือนพฤศจิกายน ทำการสอบคัดเลือก ช่วง มกราคม และ ประกาศผล
เข้ารายงานตัวช่วง เดือนกุมภาพันธ์
2. การสอบผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
หรือแอดมิชชั่น นักเรียนจะต้องสอบข้อเขียน ตามระเบียบของ สกอ. (GAT,
PAT) และนำคะแนนมายื่นเพื่อคัดเลือกคณะที่จะเข้าศึกษาต่อ
ซึ่งนักเรียนจะต้องติดตามข่าวการสอบและ ระเบียบการต่างๆ
ด้วยตนเองซึ่งระเบียบข้อบังคับการในคัดเลือกเข้าศึกษาในคณะฯ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง
เพื่อความเหมาะสม
หลักสูตรปริญญาตรี
ชื่อหลักสูตร
|
หลักสูตรไทย
|
หลักสูตรนานาชาติ
|
||
ปกติ
|
พิเศษ
|
ปกติ
|
พิเศษ
|
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวนศาสตร์ชุมชน
|
/
|
|||
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้
|
/
|
|||
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมป่าไม้
|
/
|
|||
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการลุ่มน้ำและสิ่งแวดล้อม
|
/
|
|||
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการป่าไม้
|
/
|
|||
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวนวัฒนวิทยา
|
/
|
|||
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาอุทยาน นันทนาการและการท่องเที่ยว
|
/
|
|||
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการสัตว์ป่าและทุ่งหญ้า
|
/
|
|||
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางไม้
|
/
|
|||
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ
|
/
|
คณะสัตวแพทยศาสตร์

รูปที่5คณะสัตวแพทยศาสตร์
หลักสูตรในระดับปริญญาตรีมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความชำนาญ
ทางด้านการชันสูตร และตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ (Lab Practitioner) ที่เกิดกับสัตว์
ทั้งในสัตว์เลี้ยงและสัตว์เศรษฐกิจ
รวมถึงการตรวจวิเคราะห์สารตกค้างหรือสารพิษในอาหารสัตว์และอาหารคน
การวิเคราะห์คุณภาพอาหารของสัตว์และคน
นอกจากนี้บัณฑิตยังจะต้องสามารถทำหน้าที่พยาบาลและดูแลสัตว์ในเบื้องต้นได้ (Veterinary
nurse) การจัดการเรียนการสอน
นิสิตจะต้องเรียนวิชาพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์
ในชั้นปีที่ 1
และชั้นปีที่ 2 ภาคต้น และเรียนวิชาเฉพาะสาขาในชั้นปีที่ 2 ภาคปลาย
ปี 3 และปี 4 ซึ่งจะประกอบด้วยวิชาต่างๆ ในกลุ่มวิชาปรสิตวิทยาและพยาธิคลินิกทางสัตวแพทย์
สาขาวิชาสัตวแพทยสาธารณสุขและจุลชีวคลินิกทางสัตวแพทย์
สาขาวิชาสุขศาสตร์และงานโรงพยาบาล และสาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์และมาตรฐานผลิตภัณฑ์
รวมถึงมีการฝึกงานไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร
1. มีสัญชาติไทยหรือเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
2. เป็นผู้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2557 กลุ่มการเรียนวิทยาศาสตร์ (ไม่รับพิจารณาผู้สอบเทียบ กศน.)
4. เป็นผู้ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นมัธยมศึกษาปีกที่ 6 (ภาคต้น) รวม 5 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 2.50
5. ผู้สมัครสามารถเลือกสมัครได้เพียง 1 สาขาเท่านั้น
6. เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง หรือเป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
7. ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างตกเป็นจำเลยในคดีอาญาหรือไม่เคยต้องคำพิพากษาของศาล ด้วยการกระทำผิดในคดีอาญา ยกเว้นความผิดโดยประมาท
8. เป็นผู้ที่ไม่เป็นโรคตาบอดสี อันจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพ โดยผู้สมัครจะต้องนำผลการตรวจตาบอดสีที่ได้รับการตรวจจากโรงพยาบาลของรัฐมาแสดงต่อคณะกรรมการในวันสอบสัมภาษณ์ (เฉพาะสาขาเทคนิคการสัตวแพทย์)
2. เป็นผู้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2557 กลุ่มการเรียนวิทยาศาสตร์ (ไม่รับพิจารณาผู้สอบเทียบ กศน.)
4. เป็นผู้ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นมัธยมศึกษาปีกที่ 6 (ภาคต้น) รวม 5 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 2.50
5. ผู้สมัครสามารถเลือกสมัครได้เพียง 1 สาขาเท่านั้น
6. เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง หรือเป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
7. ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างตกเป็นจำเลยในคดีอาญาหรือไม่เคยต้องคำพิพากษาของศาล ด้วยการกระทำผิดในคดีอาญา ยกเว้นความผิดโดยประมาท
8. เป็นผู้ที่ไม่เป็นโรคตาบอดสี อันจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพ โดยผู้สมัครจะต้องนำผลการตรวจตาบอดสีที่ได้รับการตรวจจากโรงพยาบาลของรัฐมาแสดงต่อคณะกรรมการในวันสอบสัมภาษณ์ (เฉพาะสาขาเทคนิคการสัตวแพทย์)
จำนวนที่รับเข้าศึกษา
1.
สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ จำนวนไม่เกิน 30 คน
หลักสูตรปริญญาตรี
ชื่อหลักสูตร
|
หลักสูตรไทย
|
หลักสูตรนานาชาติ
|
||
ปกติ
|
พิเศษ
|
ปกติ
|
พิเศษ
|
|
หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
|
/
|